วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่  15



บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่  1 พฤษภาคม  2558



สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


        จากการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้ได้รับความรู้มากมาย และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน



ความรู้ที่ได้รับ
1.ความหมายเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
2.วิธีการทำบล็อกเเละองค์ประกอบต่างๆ
3.ความรู้จากสิ่งที่ได้รับมอบหมายในเรื่องงานวิจัย บทความ เเละโทรทัศน์ครู
4.ความรู้จากการทำรายงานเรื่องของเเบบการสอนต่างๆ เช่น
 - การสอนเเบบโครงการ
 - การสอนเเบบมอนเตสเซอรี่
 - การสอนเเบบสตรอรี่ไลน์
 - การสอนเเบบสมองเป็นฐาน
 -  การสอบเเบบstem
5.ความรู้ที่ได้รับจากการออกเเบบการทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
6.ความรู้ที่ได้รับจากการเขียนเเผนการสอน  วิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
7.ได้รับความรู้จากการนำเสนองานของเพื่อนและของตนเอง
8. สาระมาตรฐานและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้ง 6 สาระ ได้แก่
    1. จำนวนและการดำเนินการ
    2. การวัด
    3. เรขาคณิต
    4. พีชคณิต
    5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์



เทคนิค
1.การใช้เทคโนโลโลยีในการทำบล็อก
2.การสอนตามแผนการจัดประสบการณ์
3.เทคนิคการทำกิจกกรรมก่อนนำเข้าสู่บทเรียน


ทักษะ
1.การพูดรายงานหน้าชั้นเรียงลำดับก่อนหลังว่าจะพูดอย่างไร
2.กระบวนการคิดวิเคราะห์
3.การทำงานเป็นกลุ่ม
4.การเขียนเเผนเเละสิ่งที่จะใช้ร่วมกับแผน
5.การเรียบเรียงการเเต่งคำคล้องจอง นิทาน เเละปริศนาคำทาย
6.การเเต่งเพลงที่นำมาใช้ร่วมกับการสอนตามเเผนและวิธีการสอนเด็กปฐมวัย
7.การอภิปราย สนทนา ซักถาม
8.การสรุปองค์ความรู้


คุณธรรมจริยธรรม
1.เข้าเรียนตรงเวลา
2.เเต่งกายถูกระเบียบ
3.เคารพกติกาในห้องเรียน
4.มีความรับผิดชอบ
5.รู้จักการแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น

          กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้ให้ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการการสอน ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ขอบคุณค่ะ





ครั้งที่  14




บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่  1 พฤษภาคม  2558


เนื้อหา

       
  อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนมา

มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
        การสอนตามแผนการจัดประสบการณ์
- หาเรื่องที่จะสอน
- วิเคราะห์สาระของหลักสูตร ( ประเด็นไหนสำคัญกับเด็ก)
   * เรื่องใกล้ตัว
   * มีผลกระทบกับเด็ก
       
      สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

- หาข้อมูล ( กำหนดเนื้อหา)- ทำ Mind Mapping
- ศึกษาประสบการณ์สำคัญ ( ด้านสติปัญญา)
- สาระและกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์


การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ จะบูรณาการไปสู่......
1. ภาษา, สุขศึกษา , สังคมและศาสนา, คุณธรรมจริยธรรม , วิทยาศาสตร์ , พละศึกษา , ดนตรี ฯลฯ
2. พัฒนาการทั้ง  4 ด้าน  คือ
          1. ด้านร่างกาย
          2. ด้านอารมณ์จิตใจ
          3. ด้านสังคม
          4. ด้านสติปัญญา 
3. บูรณาการกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
          1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
          2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
          3. กิจกรรมเสรี
          4. กิจกรรมกลางแจ้ง
          5. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
          6. กิจกรรมเกมการศึกษา
    


เทคนิคและวิธีการสอน
         - นิทาน
         - เพลง
         - เกม
         - คำคล้องจอง
         - สืออื่นๆ


การเลือกสื่อในการจัดการเรียนการสอน
-  เลือกสื่อที่มีอยู่ในท้องที่ หรือ ฤดูกาลนั้น เช่น ผลไม้
-  ใช้สื่อที่เป็นของจริง
-  เป็นสิ่งใกล้ตัวเด็ก
- สื่อที่ใช้ต้องเป็นเกณฑ์เดียว เช่น สีแดงก็ต้องสีแดงเท่านั้น
- สื่อที่เป็นเกมการศึกษา
   
        1. จับคู่ 




        2. จิ๊กซอว์


        
        3. โดมิโน่




        4. เกมพื้นฐานการบวก


      

          5. เกมความสัมพันธ์สองแกน


          6. เกมเรียงลำดับ
          7. เกมการศึกษารายละเอียดของภาพ


การจัดการเรียนการสอนจะต้อง 3 ขั้น คือ
1. ขั้นนำ
2. ขั้นสอน
3. ขั้นสรุป


การจัดประสบการณ์ให้เด็ก-  จากคุณครู
-  จากพ่อแม่ ผู้ปกครองโดยการสานสัมพันธ์ครอบครัว


วิธีการประเมิน1. สังเกต  เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
2. สนทนา สอบถาม   เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
3, ชิ้นงาน เครื่องมือ คือ แบบประเมิน





วิธีการสอน
- อภิปราย ถาม ตอบ
- ยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
- ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน




ทักษะ
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์



การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยให้อย่างครอบคลุมและรอบด้าน




บรรยากาศในห้องเรียน
             มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีความพร้อม และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น 




ประเมินตนเอง
              ได้ฝึกสอบสอน ทำให้ได้เทคนิคที่ดี และมีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น





ประเมินเพื่อน 
                ตั้งใจเรียน มีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น




ประเมินอาจารย์
                 มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำตลอดเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ 



ครั้งที่  13



บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่ 27  เมษายน  2558




เนื้อหา

-  ให้นักศึกษาสรุปประเด็น
        อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนด
1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง 
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง



ประเด็นที่อาจารย์สรุปให้








วิธีการสอน
- ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความรู้ สรุปประเด็นที่เรียนมา




ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการสรุปองค์ความรู้



การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้ตรงตามสาระ และมาตรฐานที่เด็กควรเรียนรู้ ตามพัฒนาการและความเหมาะสมของเด็ก



บรรยากาศในห้องเรียน
              อากาศเย็นสบาย แสงสว่างเพียงพอ



ประเมินตนเอง
              ได้ประเมินตนเองเกี่ยวกับประเด็นที่เรียนมาและมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น




ประเมินเพื่อน 
                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม



ประเมินอาจารย์
                อธิบายได้อย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย




ครั้งที่  12




บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่  23 เมษายน  2558




กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน



1.  อาจารย์ให้ขนมมา  1 กระปุก ให้นักศึกษาลองเดากันว่าในกระปุกนี้น่าจะมีขนมอยู่ประมาณกี่ชิ้น
2.  ให้ตัวแทนออกมา 1 คน มานับขนม โดยนับเรียงจากซ้ายไปขวา ในแนวนอนเพื่อให้เด็กได้มองเห็นอย่างชัดเจน
3. ร่วมกันอภิปรายว่าใช้บูรณาการคณิตศาสตร์ได้อย่างไร?
    - ใช้ในเรื่องของจำนวน การนับ
    - การเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า
    - จับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อให้เปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า เพิ่มขึ้น ลดลง
4. ให้ตัวแทนเพื่อนนำขนมมาแจกเพื่อน โดยตั้งคำถามจะบูรณาการคณิตศาสตร์ให้เกิดขึ้นในการทำกิจกรรมนี้อย่างไร คำตอบ คือ ให้เพื่อนหยิบขนมในถาดทีละชิ้นและส่งต่อไปให้เพื่อนจนถึงคนสุดท้าย



เนื้อหา

สอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์









การจัดประสบการณ์เรื่อง " ส้ม "

ขั้นนำ

- ร้องเพลง ส้ม

ส้ม

มากินส้มกัน มากินส้มกัน
ส้มเขียวหวาน ส้มเขียวหวาน
ส้มสายน้ำผึ้ง  ส้มจี๊ด ส้มจีน
และโชกุน และโชกุน





ขั้นสอน

1. ถามเด็กว่าในเนื้อเพลงมีส้มกี่ชนิด?
2. ถามเด็กว่า นอกจากส้มในเนื้อเพลงแล้ว เด็กๆยังรู้จักส้มชนิดใดอีกบ้าง (ในขั้นนี้ครูสรุปโดยใช้เทคนิค Mind Mapping )
3. ครูนำส้มมาและใช้ผ้าคลุมส้มทั้งหมดและให้เด็กออกมาหยิบส้มวางเรียงกัน ให้เด็กนับและบอกจำนวน
4. ให้เด็กหยิบกลุ่มส้มจีนออกจากกลุ่มที่ไม่ใช่ส้มจีน ให้เด็กเปรียบเทียบว่ากลุ่มใดมีส้มมากกว่า น้อยกว่า
5. ให้เด็กจับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างกลุ่มส้มจีน และกลุ่มที่ไม่ใช่ส้มจีน กลุ่มไหนหมดก่อนแสดงว่ามีน้อยกว่าและกลุ่มไหนเหลือแสดงว่ามีมากกว่า


ขั้นสรุป
- ครูและเด็กทบทวนชื่อส้มแต่ละชนิดและร่วมกันร้องเพลง " ส้ม "





วิธีการสอน
- ให้นักศึกษาสอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
- ให้เทคนิคในการสอน
- ให้คำแนะนำในจุดที่บกพร่อง 
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ




ทักษะ
- ทักษะในการสอน
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม




การนำไปประยุกต์ใช้
              นำเทคนิคที่ได้จากการทำกิจกรรมไปใช้ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย




บรรยากาศในห้องเรียน
              เนื่องจากไม่มีห้องเรียนจึงได้ไปเรียนที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ มีแสงสว่างเพียงพอ แต่อากาศร้อน และสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน




ประเมินตนเอง
              ได้ฝึกสอบสอน ทำให้ได้เทคนิคที่ดี และมีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น





ประเมินเพื่อน 
                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม



ประเมินอาจารย์
                 มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำตลอดเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ แต่งกายสุภาพ สอนได้เข้าใจ




วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11





บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่  8  เมษายน  2558






กิจกรรมนำเข้าบทเรียน
   
       
   มีรูปสัตว์ 6 ตัว คือ  กระต่าย ม้าลาย เสือ ช้าง นก เป็ด
-  นำมาบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับจำนวนขา จำนวนหู จำนวนของสัตว์ เป็นต้น

1.  ครูเขียนคำบนกระดานดังนี้
         
           ม้าลาย  2  ตัว    =   8
           นก        3   ตัว   =   6
           เป็ด      2   ตัว    =   4
2.  ให้รวมขาของสัตว์มีทั้งหมดกี่ขา
         
           จะได้  8 + 6 + 4   =  18  ตัว


เนื้อหา

- เก็บตก.....เลขที่.....นำเสนองาน
 
เลขที่ 22 นำเสนอวิจัย ทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยตามแนวของมอนเตสเซอรี่
  เลขที่ 9 นำเสนอ  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ (กิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)
  เลขที่ 10 การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์
  เลขที่ 4 เก่งเลขเก่งศิลป์ผ่านการร้อยลูกปัด
       

- วันนี้เรียนเรื่อง " การออกแบบกิจกรรม "


ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
    เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะ
1. ข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่
2. เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
    กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ
-   กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ


         -  แบ่งกลุ่มทำ  Mind Mapping

                    แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และกลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม  กลุ่มของดิฉันจัดทำในเรื่อง " ส้ม "




ใน Mind Mapping เรื่อง ส้ม ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้ คือ
- ชนิด
- ลักษณะ
- การดูแลรักษา
- ประโยชน์
- ข้อควรระวัง
- การขยายพันธุ์

           การทำ Mind Mapping ในครั้งนี้ได้อ้างถึงในหลักสูตรของเด็กปฐมวัย ในเรื่องของสาระที่เด้กควรเรียนรู้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยผ่านประสบการณ์จริง


       -  เขียนแผนการสอนรายกลุ่มเรื่อง ส้ม









วิธีการสอน
- มีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน

- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม



การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และนำแผนนั้นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน
               มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีความพร้อม และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
               มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนสอนมากยิ่งขึ้น และได้ลองฝึกเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัย



ประเมินเพื่อน 
                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม



ประเมินอาจารย์
                 มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำตลอดเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ











วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558


ครั้งที่ 10



บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2558



เนื้อหา

- กิจกรรมตัวอย่าง คือ กิจกรรมต่อไม้รูปทรงต่างๆ


        อุปกรณ์
        1.ไม้            
        2.ดินน้ำมัน

        คำสั่ง
        
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
        2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
        3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้
        4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
        5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
        6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้

- เก็บตก  เลขที่...  นำเสนอ...
        นำเสนอโทรทัศน์ครู
             เลขที่25 เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5ประสาทสัมผัส
             เลขที่26 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทาน

        นำเสนอบทความ
             เลขที่2 เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย









- นำเสนอรูปแบบการสอน
     
           1) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา 

ปรัชญาและหลักการสอน
1เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2เด็กที่มีจิตซึมซับได้ 
3.ช่วงเวลาหลักของชีวิต 
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม 
5. การศึกษาด้วยตนเอง 

วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

         

           2) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)

           วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว

ลักษณะเด่นของวิธีสอน
     1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
     2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง
     3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง
     4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
     5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
     6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
             1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
             2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
             3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
             4) ปัญหาที่รอการแก้ไข



             3) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL

วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
             1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
             3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
             4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ 
             5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
             6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง 



              4) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
 
              STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology),วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
              - Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
              - Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
              - Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
              - Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์ 
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย





วิธีการสอน
- มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าบทเรียน
- มีการให้คำแนะนำในการนำเสนองาน
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการนำเสนองาน
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการรวบยอดความรู้



การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปใช้ในการเรียนการสอน การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีความพร้อม และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนสอนมากยิ่งขึ้น และได้เทคนิคในการนำเสนองานที่ดีขึ้น



ประเมินเพื่อน 
         ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกกรม



ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำในการนำเสนองานให้กับทุกคน  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ ร้องเพลงได้ไพเราะ น่าฟัง









วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9



บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2558




เนื้อหา
       
           - นำเสนอวิจัย

                   เลขที่ 22

           - นำเสนอบทความ
                   เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
                   เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
       
          - นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
                   เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
                   เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน-  ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-  เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
-  ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ
-  ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-  ทักษะในการพูดนำเสนองาน
-  ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้
           
        นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง



ประเมินเพื่อน 
        เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศในการเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความเงียบ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี



ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ





วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8




บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธ  ที่ 11 มีนาคม  2558



เนื้อหา

- ก่อนการเริ่มการเรียนการสอน

           ให้ทำกิจกรรมติดชื่อการมาโรงเรียนของนักเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม  คือ ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง  มีสามชิกทั้งหมดจำนวน 16 คน ในกิจกรรมนี้จะเชื่อมโยงไปสู่สาระมาตรฐานและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ
                 สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
                 สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ  เท่ากัน ไม่เท่ากัน
น้อยกว่า มากกว่า
                 สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
                 สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
                 สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
                 สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา

- นำเสนอบทความ
           เลขที่ 21 การสอนคณิตศาตร์จากชีวิตรอบตัว ซึ่งเป็นการสอนจากพ่อแม่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นการสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีอยู้ในชีวิตประจำวัน

- นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์
           รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครง เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด ในวันนี้เพื่อนๆได้นำเสนอเป็น Powerpoint และมีโทรทัศน์ครูที่เกี่ยวกับการสอนแบบโครงการมาเสริมความรู้ ให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นด้วย

- ฝึกร้องเพลงและแปลงเนื้อเพลง

เพลง บวก- ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ


แปลงเพลง
บ้านฉันมีถ้วยชามห้าใบ ลุงให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีถ้วยชามแปดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาถ้วยแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สองใบ






เพลง  เท่ากัน- ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


แปลงเพลง
หมูมีสี่ขา  หมามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
หมูหมามี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)






เพลง  ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง






เพลง จับปู
1  2  3  4  5     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6  7  8  9  10      ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ







วิธีการสอน

- บอกให้ทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
- มีการทบทวนความรู้เดิม โดยการแสดงความคิดเห็น
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการตอบคำถาม
- ทักษะในการร้องเพลง
- ทักษะในการแปลงเพลง
- ทักษะในการสรุปองค์ความรู้



การนำไปประยุกต์ใช้
             
นำไปใช้ในการเรียนการสอน การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเลือกกิจกรรมในการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีปัญหาขัดข้องคือเมื่อนำซีดีไปเปิดงานไม่สามารถเปิดได้ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น




ประเมินตนเอง
        มีความพร้อมในการเรียนในระดับหนึ่ง ตัังใจเรียน และมีความรู้เนื้อหาที่สอนมากยิ่งขึ้น อาจจะมีติดขัดบ้าง ไม่เข้าใจบ้างเล็กน้อย




ประเมินเพื่อน 
         เพื่อนบางคนไม่มีความพร้อมในการเรียน  บางคนก็คุยกัน  บางคนก็นั่งหลับ และเพื่อนบางกลุ่มไม่มีความพร้อมในการเรียน คือ ไม่เตรียมงานมานำเสนอ




ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี การเรียนในวันนี้ไม่เป็นไปตามที่อาจารย์เขียนแผนไว้ แต่อาจารย์ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ มีการนำเรื่องที่สามารถทดแทนสิ่งที่ผิดพลาดไป มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ ร้องเพลงได้ไพเราะ น่าฟัง






         






วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 7




บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558




เนื้อหา

- กิจกรรมเขียนชื่อนบนกระดาน เรื่อง เวลาการมาเรียน (นาฬิกา) ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
          ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือ
  1. ทำให้ได้เรื่องของเวลา
  2. ทำให้ได้เรื่องของลำดับการมาก่อน- หลัง
  3. ภาษา

- ทบทวนเพลง
- รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
       
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ"
        2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบโครงการ"
        3. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบสมองเป็นฐาน"
        4. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบ STEM"
        5. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบมอนเตสเซอรี่"
        6. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบเดินเรื่อง"

- นำเสนอโทรทัศน์ครู
       
         เลขที่ 17 นำเสนอ เรื่อง " การสอนโดยใช้ลูกเต๋าเป็นสื่อ ( ของ อ.นิตยา)

- รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ" ( Integrated Learning Management)
       
หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้  ทักษะ และเจตคติ ไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

- ความสำคัญ
        1. ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกัน ทำให้ผู้ที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆมาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปํญหาได้
        ดังนั้น การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้ ทักษะจากหลายๆศาสตร์มาแก้ปัญาได้กับชีวิตจริง
        2. การจัดประการณ์แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆเข้าเ้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์ ( Transfer of learning)  ของศาสตร์ต้่างๆเข้าด้วยกัน
        3. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆในหลักสูตร ทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้น้อยลง
        4. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถหลายๆด้านของผู้เรียน ช่วยสร้างความรู้ ทักษะ เจตคติ " แบบพหุปัญหา" ( Multiple intelligence)
        5. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน (เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเอง)

- การนำไปใช้
        ควรคำนึงถึง.......
                เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  รู้อะไร
                  เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  ทำอะไร


**  สรุป **

         การจัดประสบการ์แบบบูรณาการ คือ การนำศาสตร์ต่างๆมารวมกัน เพื่อนำมาพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครบรอบด้าน ทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์- จิตใจ สังคม และสติปํญญา



วิธีการสอน
- บอกให้ทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
- มีการทบทวนความรู้เดิม โดยการแสดงความคิดเห็น
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถามตอบ
- ทักษะในการสรุปองค์ความรู้ที่ได้



การนำไปประยุกต์ใช้       นำความรู้เรื่องการจัดประสบการ์แบบบูรณาการ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การทำกิจกรรม ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ให้รอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น มีเนื้อหาบางเนื้อหาที่ไม่ค่อยเข้าใจ



ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย



ประเมินอาจารย์        
        สอนได้เข้าใจง่าย จังหวะการพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป แต่เนื้อหาก็สอนเร็วเกินไป มีน้ำเสียงที่พอดี ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือล้น หากิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษาทำและมีการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆให้เข้ากับกิจกรรม  ทำให้เข้าใจและเกิดความรู้ที่แปลกใหม่มากยิ่งขึ้น





         

   


วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6




บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหา

- กิจกรรมติดป้ายชื่อบนหน้ากระดาน เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่นักศึกษาจำนวน 16 คน อยากไป คือ
1. ดรีมเวิลด์ = 5 คน
2. ทะเล = 5 คน
3. เกาหลี = 6 คน

** สรุป ** นักศึกษากลุ่ม 101 อยากไปเที่ยวที่เกาหลีมากที่สุด หรือ นักศึกษาอยากไปเกาหลีมากกว่าดรีมเวิลดฺและทะเล ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน

   
       จากกิจกรรมดังกล่าว จะเกี่ยวกับเรื่องการนับ ( การเพิ่มขึ้นทีละ 1) และค่าจำนวน เป็นการสอนแบบภาษาธรรมชาติ

- ทดสอบก่อนเรียน        เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไรบ้างและนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

- วันนี้เรียนเรื่อง
       
 เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ คือ
         - นิทาน
         - เพลง
         - เกม
         - คำคล้องจอง
         - ปริศนาคำทาย
         - บทบาทสมมติ
         - แผนภูมิรูปภาพ
         - การประกอบอาหาร
         - กิจวัตรประจำวัน เช่น การไปตลาด

- นำเสนอบทความ

      - เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการสร้างหนังสือภาพ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน ได้รับประสบการณ์ตรง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
      - เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการการละเล่นพื้นบ้าน
        การเล่นคำทาย,การเป่ากบ,กาฟักไข่,รีรีข้าวสาร  ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การคิด รู้จักการรอคอย  คิดอย่างเป็นระบบ

- แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม          แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี คือ สีส้ม สีเหลือง สีเขียว  สีละ 10 อัน  รวมเป็น 30 อัน โดยให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป








เพลง นับนิ้วมือ
        นี้คือนิ้วมือของฉัน     มือของฉันนั้นมี 10 นิ้ว
มือซ้ายฉันมี 5 นิ้ว     มือขวาก็มี 5 นิ้ว
 นับ 1 2  4  5                    นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ           นับ 1-10 จำให้ขึ้นใจ






คำคล้องจอง 1 2 3
1 2 3 เป็นยามปลอด       4 5 6 ลอดรั้วออกไป
7 8 9 เเดดเเจ่มใส่         10 11 ไวไววิ่งไล่กัน
12 13 รีบย่องกลับ        14 15 หลับเเล้วฝัน
16 17 ตกเตียงพลัน          18 19 20 ฉันนั้นหัวโน







วิธีการสอน- มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
- มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
- อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน
- นำกิจกรรมมาให้นักศึกษาเพื่อให้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น



ท้กษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถาม- ตอบ
- ทักษะในการสรุปองค์ความรู้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น
- ทักษะในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม



การนำไปประยุกต์ใช้    
        นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็ก ในเรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการนำดทคนิควิธีการที่หลากหลายไปใช้



บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการเรียน



ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย



ประเมินอาจารย์        
        สอนได้เข้าใจง่าย จังหวะการพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีน้ำเสียงที่พอดี ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือล้น หากิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษาทำและมีการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆให้เข้ากับกิจกรรม  ทำให้เข้าใจและเกิดความรู้ที่แปลกใหม่มากยิ่งขึ้น














วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5




บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธ ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558



เนื้อหา

- กิจกรรมติดชื่อบนกระดาน ( มาเรียน, ไม่มาเรียน) ให้เด็กมีส่วนร่วมในการติดป้ายชื่อของตนเองมาเรียนกับไม่มาเรียน เป็นการสอนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

- ทดสอบการเรียน
1. มาตรฐานคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
3. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง

- เรียนเรื่อง
1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

- นำเสนอบทความ
เลขที่ 10 เรื่อง Mathematic ของวัยซน

มาตรฐาน คือ
         เครื่องมือในการบอกคุณภาพ โดยมีเกณฑ์เป็นตัวกำหนดและใช้เกณฑ์ขั้นต่ำในการวัดประเมินผล

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
         เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน (จำนวนโดยการหาคำตอบ)
สาระที่ 2 : การวัด (หาค่าในเชิงปริมาณ, เครื่องมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ)
สาระที่ 3 : เรขาคณิต (รูปร่าง)
สาระที่ 4 : พีชคณิต ( ความสัมพันธ์ของจำนวน)
สาระที่่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัยทางคณิตศาสตร์
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking)
- จำนวนนับ 1 ถึง 20
- เข้าใจหลักการนับ (เพิ่มขึ้นทีละ 1)
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย ( รู้จักตัวเลข)
- รู้ค่าของจำนวน ( ต้องมีทักษะการนับเป็นอันดับแรก ถึงจะรู้ค่าของจำนวนได้)
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ ( บอกค่าและจำนวน และนำมาเปรียบเทียบ โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ
- การรวมและการแยกกลุุ่ม เช่น ติดป้ายชื่อการมาเรียน กับการมาเรียน)

2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำชี้ใช้บอกช่วงเวลา (กิจกรรมที่ใช้ในการบอกเด็ก เช่น การเข้าแถว )

3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรคณิตสองมิติ

4. มีความรู้ความเข้าใจรูปของที่มีรูปร่าง ขนาดสี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
   มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม ( ทำให้เพิ่มขึ้น )
- การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- ความหมายของการแยก ( ทำให้ลดลง )
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่ 2 : การวัด 
  มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
- เปรียบเทียบ / วัด / เรียงลำดับความยาว
- เปรียบเทียบ / ชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
- เปรียบเทียบ / ปริมาตร / ตวง
เงิน
- ชนิดค่าของเงิน / เหรียญ / ตวง
เวลา- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

สาระ 3 : เรขาคณิต
   
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
   มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงระบอก
- รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลงรูปเราขาคณิตสองมิติ
- การสร้างสรรค์งานศิลปะ รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

สาระที่ 4 : พีชคณิต
  มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปและความสัมพันธ์
- แบบรูปของรูปที่มี รูป ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อมที่จะนำเสนอ
การเก็บข้อมูล
- แผนภูมิ

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ
- การเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์






เพลง  จัดแถว

สองมือเราชูตรง
แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า
แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง




เพลง  ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง
ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน
หันตัวไปทางนั้นแหละ




วิธีการสอน
 -มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
- อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
- มีการการถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ท้กษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถาม- ตอบ
- ทักษะในการสรปองค์ความรู้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น



การนำไปประยุกต์ใช้   
        นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ให้สอดคล้องกับสาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการเรียน



ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย



ประเมินอาจารย์       
        สอนได้เข้าใจง่าย จังหวะการพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีน้ำเสียงที่พอดี ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือล้น ทำให้เกิดความรู้มากยิ่งขึ้น






วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู



เรื่อง  ฝึกคิดวางแผนด้วย"ศิลปะ"

คลิกดูวิดีโอโทรทัศน์ครูได้ที่นี่!!

โดย คุณครูอรพรรณ  ผดุงการณ์
รร.สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)


            คุณครูอรวรรณ ผดุงการณ์ รร.สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) มีแนวคิดที่ว่างานศิลปะไม่เพียงแต่นำมาฝึกความคิดสร้างสรรค์หรือสร้างความเพลิดเพลินให้เด็กได้เท่านั้น แท้จริงแล้วในกระบวนการทำงานศิลปะ สามารถนำมาใช้ฝึกกระบวนการคิด การวางแผนการทำงานให้กับเด็ก ๆ ได้ด้วย 
คุณครูจึงได้นำกิจกรรมนี้ใช้กับเด็ก ๆ ในชั้นอนุบาล 2 
โดยคุณครูอรวรรณได้นำหลักของทฤษฎี Plan(วางแผน)  Do(ลงมือปฏิบัติ)  Review (สรุปทบทวน) และได้นำมาปรับใช้กับงานศิลปะภายใต้โจทย์การทำชิ้นงานที่ยึดหน่วยการเรียนรู้ในสัปดาห์นั้นๆ คุณครูได้ให้เด็กๆทำกิจกรรมฝึกฝนกระบวนการคิดและการวางแผนโดยผ่านกิจกิจกรรมศิลปะในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง "บ้าน" คุณครูไ้ด้กล่าวถึงลักษณะของบ้านว่ามีรูปทรงไหนบ้าง เมื่อเด็กๆมีความคิดรวบยอดแล้วก็จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมศิลปะได้ โดยให้เด็ก ๆ ออกแบบชิ้นงานในกระดาษ  วางแผนการเลือกใช้อุปกรณ์ และสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้ตรงกับสิ่งที่ได้ออกแบบและวางแผนไว้ มีการสอบถามเหตุผลกับเด็กว่าทำไมถึงเลือกอุปกรณ์ชิ้นนี้  แล้วสุดท้ายนำกระบวนการมาสรุปและนำเสนอต่อเพื่อน ๆ  เป็นการส่ง้สริมให้เด็กกล้าแสดงออกมากขึ้น  มีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง มีความเชื่อมั่นในผลงาน และการชื่นชมผลงานของเพื่อนๆอีกด้วย




วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4




บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธที่ 28 มกราคม 2558



เนื้อหา

- คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันเกิดเพื่อน
- แปะชื่อบนกระดานว่าใครมามหาวิทยาลัยก่อน 8 โมงและหลัง 8 โมง
- ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่มีมา

1.ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

-นำเสนอโทรทัศน์ครู

1. เลขที่ 7 เรื่อง ของเล่นและของใช้
2. เลขที่ 8 เรื่อง ผลไม้แสนสนุก
3. เลขที่ 9 เรื่อง การบูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียน


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์ จำนวน รูปทรง
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ 
-ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ เช่น การเทน้ำกลับไปกลับมาในภาชนะที่แตกต่างกัน การโยง การจับคู่ เป็นต้น
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ


ทักษะพื้นฐาน
1.การสังเกต (Observation)
   -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
   -การใช้ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

2.จำแนกประเภท(Classifying)
   -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
   -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน แตกต่าง และหาความสัมพันธ์

3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
   -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป เช่น ข้าวสารสองถังกับข้าวสารสามถัง
   -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆและรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4.การจัดลำดับ(Ordering)
   -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
   -เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5.การวัด(Measurement)
   -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
     
                    *การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตราฐานในการวัด*

6.การนับ(Counting)
   -เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
   -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
   -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

             คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

- ตัวเลข             น้อย มาก มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
- ขนาด              ใหญ่ กว้าง  สูง เตี้ย
- รูปร่าง              วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โค้ง สั้นกว่า แถว
- ที่ตั้ง                 บน ต่ำ สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
- ค่าของเงิน        สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
- ความเร็ว           เร็ว เดิน ช้า วิ่งคลาน
- อุณหภูมิ            เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   1.การนับ
   2.ตัวเลข
   3.การจับคู่
   4.การจัดประเภท
   5.การเปรียบเทียบ
   6.รูปร่างและพื้นที่
   7.การวัด
   8.การจัดลำดับ


หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริงที่เป็นรูปธรรม 
-การสอนให้สอดคล้องกับใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อ-ขาย 
-เปิดโอกาสให้ค้นพบด้วยตัวเองและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง





เพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์


 เพลง สวัสดียามเช้า

  ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
 กินอาหารของดีมีทั่ว
  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

  สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
  ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

       หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า






เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

  หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง
   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน

     อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

   หลั่นลัน หลั่นล้า






เพลง เข้าแถว

 เข้าแถว เข้าแถว
   อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
      อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
      ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว






วิธีการสอน
- มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
- อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
- มีการการถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ
- ทักษะในการคิด และตอบคำถาม
- ทักษะในการกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจ
- ทักษะในการดัดแปลงเนื้อเพลงให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์



การนำไปประยุกต์ใช้
             นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามช่วงอายุ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้รอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
              มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
               ตั้งใจเรียน มีความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น แสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย



ประเมินเพื่อน
                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น ไม่พูดคุยกันเสียงดัง



ประเมินอาจารย์               
                มีน้ำเสียงในการสอนที่พอดี ไม่สูงไม่ต่ำมากจนเกินไป หากิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนมาให้นักศึกษาทำ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงได้ไพเราะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ ฟังแล้วไพเราะเสนาะหู