บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธ ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558
เนื้อหา
- กิจกรรมติดชื่อบนกระดาน ( มาเรียน, ไม่มาเรียน) ให้เด็กมีส่วนร่วมในการติดป้ายชื่อของตนเองมาเรียนกับไม่มาเรียน เป็นการสอนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
- ทดสอบการเรียน
1. มาตรฐานคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
3. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง
- เรียนเรื่อง
1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
- นำเสนอบทความ
เลขที่ 10 เรื่อง Mathematic ของวัยซน
มาตรฐาน คือ
เครื่องมือในการบอกคุณภาพ โดยมีเกณฑ์เป็นตัวกำหนดและใช้เกณฑ์ขั้นต่ำในการวัดประเมินผล
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน (จำนวนโดยการหาคำตอบ)
สาระที่ 2 : การวัด (หาค่าในเชิงปริมาณ, เครื่องมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ)
สาระที่ 3 : เรขาคณิต (รูปร่าง)
สาระที่ 4 : พีชคณิต ( ความสัมพันธ์ของจำนวน)
สาระที่่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัยทางคณิตศาสตร์
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking)
- จำนวนนับ 1 ถึง 20
- เข้าใจหลักการนับ (เพิ่มขึ้นทีละ 1)
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย ( รู้จักตัวเลข)
- รู้ค่าของจำนวน ( ต้องมีทักษะการนับเป็นอันดับแรก ถึงจะรู้ค่าของจำนวนได้)
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ ( บอกค่าและจำนวน และนำมาเปรียบเทียบ โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ
- การรวมและการแยกกลุุ่ม เช่น ติดป้ายชื่อการมาเรียน กับการมาเรียน)
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำชี้ใช้บอกช่วงเวลา (กิจกรรมที่ใช้ในการบอกเด็ก เช่น การเข้าแถว )
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรคณิตสองมิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจรูปของที่มีรูปร่าง ขนาดสี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม ( ทำให้เพิ่มขึ้น )
- การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- ความหมายของการแยก ( ทำให้ลดลง )
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
- เปรียบเทียบ / วัด / เรียงลำดับความยาว
- เปรียบเทียบ / ชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
- เปรียบเทียบ / ปริมาตร / ตวง
เงิน
- ชนิดค่าของเงิน / เหรียญ / ตวง
เวลา- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
สาระ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงระบอก
- รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลงรูปเราขาคณิตสองมิติ
- การสร้างสรรค์งานศิลปะ รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปและความสัมพันธ์
- แบบรูปของรูปที่มี รูป ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อมที่จะนำเสนอ
การเก็บข้อมูล
- แผนภูมิ
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ
- การเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เพลง จัดแถว
สองมือเราชูตรง
แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า
แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
สองมือเราชูตรง
แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า
แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง
ก้มหัวลงตบมือแผละ
วิธีการสอน
-มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
- อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
- มีการการถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน
ท้กษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถาม- ตอบ
- ทักษะในการสรปองค์ความรู้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น
การนำไปประยุกต์ใช้
นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ให้สอดคล้องกับสาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
บรรยากาศในห้องเรียน
มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการเรียน
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินอาจารย์
สอนได้เข้าใจง่าย จังหวะการพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีน้ำเสียงที่พอดี ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือล้น ทำให้เกิดความรู้มากยิ่งขึ้น
ท้กษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถาม- ตอบ
- ทักษะในการสรปองค์ความรู้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น
การนำไปประยุกต์ใช้
นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ให้สอดคล้องกับสาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
บรรยากาศในห้องเรียน
มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการเรียน
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินอาจารย์
สอนได้เข้าใจง่าย จังหวะการพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีน้ำเสียงที่พอดี ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือล้น ทำให้เกิดความรู้มากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น