วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่  15



บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่  1 พฤษภาคม  2558



สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


        จากการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้ได้รับความรู้มากมาย และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน



ความรู้ที่ได้รับ
1.ความหมายเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
2.วิธีการทำบล็อกเเละองค์ประกอบต่างๆ
3.ความรู้จากสิ่งที่ได้รับมอบหมายในเรื่องงานวิจัย บทความ เเละโทรทัศน์ครู
4.ความรู้จากการทำรายงานเรื่องของเเบบการสอนต่างๆ เช่น
 - การสอนเเบบโครงการ
 - การสอนเเบบมอนเตสเซอรี่
 - การสอนเเบบสตรอรี่ไลน์
 - การสอนเเบบสมองเป็นฐาน
 -  การสอบเเบบstem
5.ความรู้ที่ได้รับจากการออกเเบบการทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
6.ความรู้ที่ได้รับจากการเขียนเเผนการสอน  วิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
7.ได้รับความรู้จากการนำเสนองานของเพื่อนและของตนเอง
8. สาระมาตรฐานและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้ง 6 สาระ ได้แก่
    1. จำนวนและการดำเนินการ
    2. การวัด
    3. เรขาคณิต
    4. พีชคณิต
    5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์



เทคนิค
1.การใช้เทคโนโลโลยีในการทำบล็อก
2.การสอนตามแผนการจัดประสบการณ์
3.เทคนิคการทำกิจกกรรมก่อนนำเข้าสู่บทเรียน


ทักษะ
1.การพูดรายงานหน้าชั้นเรียงลำดับก่อนหลังว่าจะพูดอย่างไร
2.กระบวนการคิดวิเคราะห์
3.การทำงานเป็นกลุ่ม
4.การเขียนเเผนเเละสิ่งที่จะใช้ร่วมกับแผน
5.การเรียบเรียงการเเต่งคำคล้องจอง นิทาน เเละปริศนาคำทาย
6.การเเต่งเพลงที่นำมาใช้ร่วมกับการสอนตามเเผนและวิธีการสอนเด็กปฐมวัย
7.การอภิปราย สนทนา ซักถาม
8.การสรุปองค์ความรู้


คุณธรรมจริยธรรม
1.เข้าเรียนตรงเวลา
2.เเต่งกายถูกระเบียบ
3.เคารพกติกาในห้องเรียน
4.มีความรับผิดชอบ
5.รู้จักการแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น

          กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้ให้ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการการสอน ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ขอบคุณค่ะ





ครั้งที่  14




บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่  1 พฤษภาคม  2558


เนื้อหา

       
  อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนมา

มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
        การสอนตามแผนการจัดประสบการณ์
- หาเรื่องที่จะสอน
- วิเคราะห์สาระของหลักสูตร ( ประเด็นไหนสำคัญกับเด็ก)
   * เรื่องใกล้ตัว
   * มีผลกระทบกับเด็ก
       
      สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

- หาข้อมูล ( กำหนดเนื้อหา)- ทำ Mind Mapping
- ศึกษาประสบการณ์สำคัญ ( ด้านสติปัญญา)
- สาระและกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์


การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ จะบูรณาการไปสู่......
1. ภาษา, สุขศึกษา , สังคมและศาสนา, คุณธรรมจริยธรรม , วิทยาศาสตร์ , พละศึกษา , ดนตรี ฯลฯ
2. พัฒนาการทั้ง  4 ด้าน  คือ
          1. ด้านร่างกาย
          2. ด้านอารมณ์จิตใจ
          3. ด้านสังคม
          4. ด้านสติปัญญา 
3. บูรณาการกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
          1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
          2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
          3. กิจกรรมเสรี
          4. กิจกรรมกลางแจ้ง
          5. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
          6. กิจกรรมเกมการศึกษา
    


เทคนิคและวิธีการสอน
         - นิทาน
         - เพลง
         - เกม
         - คำคล้องจอง
         - สืออื่นๆ


การเลือกสื่อในการจัดการเรียนการสอน
-  เลือกสื่อที่มีอยู่ในท้องที่ หรือ ฤดูกาลนั้น เช่น ผลไม้
-  ใช้สื่อที่เป็นของจริง
-  เป็นสิ่งใกล้ตัวเด็ก
- สื่อที่ใช้ต้องเป็นเกณฑ์เดียว เช่น สีแดงก็ต้องสีแดงเท่านั้น
- สื่อที่เป็นเกมการศึกษา
   
        1. จับคู่ 




        2. จิ๊กซอว์


        
        3. โดมิโน่




        4. เกมพื้นฐานการบวก


      

          5. เกมความสัมพันธ์สองแกน


          6. เกมเรียงลำดับ
          7. เกมการศึกษารายละเอียดของภาพ


การจัดการเรียนการสอนจะต้อง 3 ขั้น คือ
1. ขั้นนำ
2. ขั้นสอน
3. ขั้นสรุป


การจัดประสบการณ์ให้เด็ก-  จากคุณครู
-  จากพ่อแม่ ผู้ปกครองโดยการสานสัมพันธ์ครอบครัว


วิธีการประเมิน1. สังเกต  เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
2. สนทนา สอบถาม   เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
3, ชิ้นงาน เครื่องมือ คือ แบบประเมิน





วิธีการสอน
- อภิปราย ถาม ตอบ
- ยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
- ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน




ทักษะ
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์



การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยให้อย่างครอบคลุมและรอบด้าน




บรรยากาศในห้องเรียน
             มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีความพร้อม และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น 




ประเมินตนเอง
              ได้ฝึกสอบสอน ทำให้ได้เทคนิคที่ดี และมีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น





ประเมินเพื่อน 
                ตั้งใจเรียน มีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น




ประเมินอาจารย์
                 มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำตลอดเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ 



ครั้งที่  13



บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่ 27  เมษายน  2558




เนื้อหา

-  ให้นักศึกษาสรุปประเด็น
        อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนด
1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง 
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง



ประเด็นที่อาจารย์สรุปให้








วิธีการสอน
- ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความรู้ สรุปประเด็นที่เรียนมา




ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการสรุปองค์ความรู้



การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้ตรงตามสาระ และมาตรฐานที่เด็กควรเรียนรู้ ตามพัฒนาการและความเหมาะสมของเด็ก



บรรยากาศในห้องเรียน
              อากาศเย็นสบาย แสงสว่างเพียงพอ



ประเมินตนเอง
              ได้ประเมินตนเองเกี่ยวกับประเด็นที่เรียนมาและมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น




ประเมินเพื่อน 
                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม



ประเมินอาจารย์
                อธิบายได้อย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย




ครั้งที่  12




บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่  23 เมษายน  2558




กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน



1.  อาจารย์ให้ขนมมา  1 กระปุก ให้นักศึกษาลองเดากันว่าในกระปุกนี้น่าจะมีขนมอยู่ประมาณกี่ชิ้น
2.  ให้ตัวแทนออกมา 1 คน มานับขนม โดยนับเรียงจากซ้ายไปขวา ในแนวนอนเพื่อให้เด็กได้มองเห็นอย่างชัดเจน
3. ร่วมกันอภิปรายว่าใช้บูรณาการคณิตศาสตร์ได้อย่างไร?
    - ใช้ในเรื่องของจำนวน การนับ
    - การเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า
    - จับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อให้เปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า เพิ่มขึ้น ลดลง
4. ให้ตัวแทนเพื่อนนำขนมมาแจกเพื่อน โดยตั้งคำถามจะบูรณาการคณิตศาสตร์ให้เกิดขึ้นในการทำกิจกรรมนี้อย่างไร คำตอบ คือ ให้เพื่อนหยิบขนมในถาดทีละชิ้นและส่งต่อไปให้เพื่อนจนถึงคนสุดท้าย



เนื้อหา

สอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์









การจัดประสบการณ์เรื่อง " ส้ม "

ขั้นนำ

- ร้องเพลง ส้ม

ส้ม

มากินส้มกัน มากินส้มกัน
ส้มเขียวหวาน ส้มเขียวหวาน
ส้มสายน้ำผึ้ง  ส้มจี๊ด ส้มจีน
และโชกุน และโชกุน





ขั้นสอน

1. ถามเด็กว่าในเนื้อเพลงมีส้มกี่ชนิด?
2. ถามเด็กว่า นอกจากส้มในเนื้อเพลงแล้ว เด็กๆยังรู้จักส้มชนิดใดอีกบ้าง (ในขั้นนี้ครูสรุปโดยใช้เทคนิค Mind Mapping )
3. ครูนำส้มมาและใช้ผ้าคลุมส้มทั้งหมดและให้เด็กออกมาหยิบส้มวางเรียงกัน ให้เด็กนับและบอกจำนวน
4. ให้เด็กหยิบกลุ่มส้มจีนออกจากกลุ่มที่ไม่ใช่ส้มจีน ให้เด็กเปรียบเทียบว่ากลุ่มใดมีส้มมากกว่า น้อยกว่า
5. ให้เด็กจับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างกลุ่มส้มจีน และกลุ่มที่ไม่ใช่ส้มจีน กลุ่มไหนหมดก่อนแสดงว่ามีน้อยกว่าและกลุ่มไหนเหลือแสดงว่ามีมากกว่า


ขั้นสรุป
- ครูและเด็กทบทวนชื่อส้มแต่ละชนิดและร่วมกันร้องเพลง " ส้ม "





วิธีการสอน
- ให้นักศึกษาสอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
- ให้เทคนิคในการสอน
- ให้คำแนะนำในจุดที่บกพร่อง 
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ




ทักษะ
- ทักษะในการสอน
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม




การนำไปประยุกต์ใช้
              นำเทคนิคที่ได้จากการทำกิจกรรมไปใช้ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย




บรรยากาศในห้องเรียน
              เนื่องจากไม่มีห้องเรียนจึงได้ไปเรียนที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ มีแสงสว่างเพียงพอ แต่อากาศร้อน และสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน




ประเมินตนเอง
              ได้ฝึกสอบสอน ทำให้ได้เทคนิคที่ดี และมีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น





ประเมินเพื่อน 
                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม



ประเมินอาจารย์
                 มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำตลอดเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ แต่งกายสุภาพ สอนได้เข้าใจ




วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11





บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่  8  เมษายน  2558






กิจกรรมนำเข้าบทเรียน
   
       
   มีรูปสัตว์ 6 ตัว คือ  กระต่าย ม้าลาย เสือ ช้าง นก เป็ด
-  นำมาบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับจำนวนขา จำนวนหู จำนวนของสัตว์ เป็นต้น

1.  ครูเขียนคำบนกระดานดังนี้
         
           ม้าลาย  2  ตัว    =   8
           นก        3   ตัว   =   6
           เป็ด      2   ตัว    =   4
2.  ให้รวมขาของสัตว์มีทั้งหมดกี่ขา
         
           จะได้  8 + 6 + 4   =  18  ตัว


เนื้อหา

- เก็บตก.....เลขที่.....นำเสนองาน
 
เลขที่ 22 นำเสนอวิจัย ทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยตามแนวของมอนเตสเซอรี่
  เลขที่ 9 นำเสนอ  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ (กิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)
  เลขที่ 10 การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์
  เลขที่ 4 เก่งเลขเก่งศิลป์ผ่านการร้อยลูกปัด
       

- วันนี้เรียนเรื่อง " การออกแบบกิจกรรม "


ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
    เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะ
1. ข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่
2. เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
    กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ
-   กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ


         -  แบ่งกลุ่มทำ  Mind Mapping

                    แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และกลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม  กลุ่มของดิฉันจัดทำในเรื่อง " ส้ม "




ใน Mind Mapping เรื่อง ส้ม ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้ คือ
- ชนิด
- ลักษณะ
- การดูแลรักษา
- ประโยชน์
- ข้อควรระวัง
- การขยายพันธุ์

           การทำ Mind Mapping ในครั้งนี้ได้อ้างถึงในหลักสูตรของเด็กปฐมวัย ในเรื่องของสาระที่เด้กควรเรียนรู้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยผ่านประสบการณ์จริง


       -  เขียนแผนการสอนรายกลุ่มเรื่อง ส้ม









วิธีการสอน
- มีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน

- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม



การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และนำแผนนั้นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน
               มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีความพร้อม และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
               มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนสอนมากยิ่งขึ้น และได้ลองฝึกเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัย



ประเมินเพื่อน 
                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม



ประเมินอาจารย์
                 มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำตลอดเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ











วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558


ครั้งที่ 10



บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2558



เนื้อหา

- กิจกรรมตัวอย่าง คือ กิจกรรมต่อไม้รูปทรงต่างๆ


        อุปกรณ์
        1.ไม้            
        2.ดินน้ำมัน

        คำสั่ง
        
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
        2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
        3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้
        4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
        5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
        6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้

- เก็บตก  เลขที่...  นำเสนอ...
        นำเสนอโทรทัศน์ครู
             เลขที่25 เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5ประสาทสัมผัส
             เลขที่26 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทาน

        นำเสนอบทความ
             เลขที่2 เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย









- นำเสนอรูปแบบการสอน
     
           1) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา 

ปรัชญาและหลักการสอน
1เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2เด็กที่มีจิตซึมซับได้ 
3.ช่วงเวลาหลักของชีวิต 
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม 
5. การศึกษาด้วยตนเอง 

วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

         

           2) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)

           วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว

ลักษณะเด่นของวิธีสอน
     1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
     2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง
     3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง
     4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
     5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
     6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
             1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
             2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
             3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
             4) ปัญหาที่รอการแก้ไข



             3) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL

วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
             1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
             3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
             4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ 
             5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
             6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง 



              4) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
 
              STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology),วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
              - Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
              - Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
              - Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
              - Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์ 
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย





วิธีการสอน
- มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าบทเรียน
- มีการให้คำแนะนำในการนำเสนองาน
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการนำเสนองาน
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการรวบยอดความรู้



การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปใช้ในการเรียนการสอน การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีความพร้อม และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนสอนมากยิ่งขึ้น และได้เทคนิคในการนำเสนองานที่ดีขึ้น



ประเมินเพื่อน 
         ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกกรม



ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำในการนำเสนองานให้กับทุกคน  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ ร้องเพลงได้ไพเราะ น่าฟัง









วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9



บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2558




เนื้อหา
       
           - นำเสนอวิจัย

                   เลขที่ 22

           - นำเสนอบทความ
                   เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
                   เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
       
          - นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
                   เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
                   เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน-  ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-  เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
-  ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ
-  ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-  ทักษะในการพูดนำเสนองาน
-  ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้
           
        นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง



ประเมินเพื่อน 
        เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศในการเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความเงียบ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี



ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ