วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4




บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธที่ 28 มกราคม 2558



เนื้อหา

- คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันเกิดเพื่อน
- แปะชื่อบนกระดานว่าใครมามหาวิทยาลัยก่อน 8 โมงและหลัง 8 โมง
- ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่มีมา

1.ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

-นำเสนอโทรทัศน์ครู

1. เลขที่ 7 เรื่อง ของเล่นและของใช้
2. เลขที่ 8 เรื่อง ผลไม้แสนสนุก
3. เลขที่ 9 เรื่อง การบูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียน


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์ จำนวน รูปทรง
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ 
-ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ เช่น การเทน้ำกลับไปกลับมาในภาชนะที่แตกต่างกัน การโยง การจับคู่ เป็นต้น
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ


ทักษะพื้นฐาน
1.การสังเกต (Observation)
   -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
   -การใช้ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

2.จำแนกประเภท(Classifying)
   -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
   -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน แตกต่าง และหาความสัมพันธ์

3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
   -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป เช่น ข้าวสารสองถังกับข้าวสารสามถัง
   -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆและรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4.การจัดลำดับ(Ordering)
   -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
   -เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5.การวัด(Measurement)
   -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
     
                    *การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตราฐานในการวัด*

6.การนับ(Counting)
   -เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
   -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
   -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

             คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

- ตัวเลข             น้อย มาก มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
- ขนาด              ใหญ่ กว้าง  สูง เตี้ย
- รูปร่าง              วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โค้ง สั้นกว่า แถว
- ที่ตั้ง                 บน ต่ำ สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
- ค่าของเงิน        สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
- ความเร็ว           เร็ว เดิน ช้า วิ่งคลาน
- อุณหภูมิ            เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   1.การนับ
   2.ตัวเลข
   3.การจับคู่
   4.การจัดประเภท
   5.การเปรียบเทียบ
   6.รูปร่างและพื้นที่
   7.การวัด
   8.การจัดลำดับ


หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริงที่เป็นรูปธรรม 
-การสอนให้สอดคล้องกับใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อ-ขาย 
-เปิดโอกาสให้ค้นพบด้วยตัวเองและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง





เพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์


 เพลง สวัสดียามเช้า

  ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
 กินอาหารของดีมีทั่ว
  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

  สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
  ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

       หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า






เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

  หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง
   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน

     อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

   หลั่นลัน หลั่นล้า






เพลง เข้าแถว

 เข้าแถว เข้าแถว
   อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
      อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
      ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว






วิธีการสอน
- มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
- อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
- มีการการถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ
- ทักษะในการคิด และตอบคำถาม
- ทักษะในการกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจ
- ทักษะในการดัดแปลงเนื้อเพลงให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์



การนำไปประยุกต์ใช้
             นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามช่วงอายุ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้รอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
              มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
               ตั้งใจเรียน มีความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น แสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย



ประเมินเพื่อน
                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น ไม่พูดคุยกันเสียงดัง



ประเมินอาจารย์               
                มีน้ำเสียงในการสอนที่พอดี ไม่สูงไม่ต่ำมากจนเกินไป หากิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนมาให้นักศึกษาทำ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงได้ไพเราะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ ฟังแล้วไพเราะเสนาะหู






วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3 




บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธที่ 21 มกราคม 2558




เนื้อหา
ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่มีมา

- ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
- การเรียนรรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
- เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร

       
ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
         
          พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับอาจจะไม่เท่ากัน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กว่าทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุของเด็ก
          ประโยชน์ 
- ทำให้รู้ถึงความสามารถของเด็ก
- รู้ถึงความแตกต่างของเด็ก
- จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

- ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์    เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์      สร้างภาพตามจินตนาการ
- ทฤษฎีทางสติปัญญาของไวกอตซกี้  ต้องมีทักษะทางสังคม

พัฒนาการสัมพันธ์กับสมองอย่างไร
            สมองเป็นเครื่องมือ รับ ส่ง ควบคุม กำกับ ที่ส่งผลให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

การเรียนรู้ คือ
           การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยไม่มีที่สิ้นสุด

ประโยชน์ของการเรียนรู้         
           เพื่อให้เราอยู่รอด ( การปรับตัวและมีชีวิตอยู่ในสังคมและโลกได้อย่างมีความสุข)

เด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยวิธีใด
           ลงมือกระทำโดยอิสระ มีความสุข คิดเอง ทำเอง เกิดความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า การเล่น

หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

-
ใช้รูปธรรม โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ใช้สื่อที่น่าสนใจ
- เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ความคิด มีสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ใช้เวลานาน เพราะ เด็กจะเบื่อง่ายตามพัฒนาการของเขา

เพื่อนนำเสนองานวิจัย

- เลขที่ 4 เรื่อง การสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เลขที่ 5 เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- เลขที่ 6 การส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่น



วิธีการสอน
- มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
- อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ
- ทักษะในการคิด และตอบคำถาม
- ทักษะในการกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจ
- ทักษะในการดัดแปลงเนื้อเพลงให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์



การนำไปประยุกต์ใช้             
               นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามช่วงอายุ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้รอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน           
               มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเย็นจนเกินไป



ประเมินตนเอง
               
มีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่เรียน เข้าใจในเนื้อหา และเข้าใจในงานที่อาจารย์สั่ง



ประเมินเพื่อน             
               ตั้งใจเรียน ช่วยกันระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นอย่างดี



ประเมินอาจารย์             
                แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น้ำเสียงไม่ดังและเบามากเกินไป สอนได้เข้าใจง่าย สั่งงานอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น











   

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย



ชื่อวิจัย
:
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะ                       สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย :    คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
ปี : 2550





ความสำคัญ
             การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของศิลปะ
รูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความหลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น



ความมุ่งหมายของการวิจัย

             เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้



ขอบเขตการวิจัย
        ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
             
              ประชากรวิจัย
                        ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่ง
กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ
กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน
              กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
                        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาล
ละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา
1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น

กลุ่มทดลอง



ตัวแปรที่ศึกษา
             
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
              2.1. การบอกตำแหนง
              2.2. การจำแนก
              2.3. การนับปากเปล่า 1 – 30
              2.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 –20
              2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน 1 – 10



สมมุติฐานในการวิจัย
               เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ มีการพัฒนา
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน



วิธีดำเนินการวิจัย
              ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดั้งต่อไปนี้
1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
           
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86



สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการ
จำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน
1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ย
สูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558


ครั้งที่ 2



บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธที่ 14 มกราคม 2558




เนื้อหา
   
          ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์

1) ความหมาย
           
         
           คณิตศาสตร์ หมายถึง เป็นศาสตร์วิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขและการคำนวณ เป็นวิชาที่มีสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน ทุกอาชีพล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงานทั้งสิ้น เด็กปฐมวัยจึงจำเป็นต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพราะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาอื่นๆต่อไป

2) ความสำคัญ
           คณิตศาตร์เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการคิดและการพิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นภาษาสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ใช้สื่อความหมายได้อย่างรัดกุมและถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล มีปฏิภาณไหวพริบ มีการทำงานเป็นระบบระเบียบอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของทุกคนอีกด้วย

3) ประโยชน์         
            - เด็กสามารถจำแนกสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ขนาด ปริมาณ รูปทรง เป็นต้น
            - นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อ-การขายสินค้า การบอกเวลา การนับจำนวน เป็นต้น
            - สามารถนำไปจัดเกมการศึกษา เช่น การจับคู่ภาพกับจำนวน เป็นต้น

4) สาระที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้
           
1. จำนวนและการดำเนินการ
            2. การวัด
            3. เรขาคณิต
            4. พีชคณิต
            5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



วิธีการสอน           
            ศึกษาด้วยตนเองโดยผ่านกระบวนการกลุ่ม โดยให้สรุปและออกมานำเสนอ



ทักษะ           
            - ทักษะการคิดวิเคราะห์
            - ทักษะการพูด อภิปราย
            - ทักษะการฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น
            - ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม



การนำไปประยุกต์ใช้           
           
            นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เช่น การจัดเกมการศึกษา อาจจะเป็นเกมจับคู่จำนวนกับภาพ เกมการแยกหมวดหมู่ของสิ่งของ เป็นต้น



บรรยากาศในการเรียน 
            มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่แอร์ในห้องเย็นจนจนเกินไปเนื่องจากเป็นฤดูหนาว วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนไม่มีความพร้อม เนื่องจากอยู่ในช่วงระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์



ประเมินตนเอง            
            ตั้งใจเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย อาจจะมีบ้างที่ไม่เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน



ประเมินเพื่อน           
            ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความกระตือรือล้นในการเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม



ประเมินอาจารย์ผู้สอน             
             การแต่งกายเรียบร้อย มีน้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ สอนเข้าใจง่าย แต่มีบางครั้งที่สั่งงานแล้วนักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจ
   




วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ





เรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล

คลิ๊กดูบทความได้ที่นี่!!



          การเรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก มักถูกคาดหวังสูง โดยมุ่งหวังให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ให้ได้ผลการการเรียนที่ดีที่สุด แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องกระบวนการคิดของเด็กว่าเขาคิดอย่างไร ทำไมถึงตอบเช่นนี้ ซึ่งหากการพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็กแล้ว จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี


กระบวนการคิด+คณิตวัยอนุบาล


       การเรียนคณิตศาสตร์ของหนูวัยอนุบาลนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กๆ ว่าบางครั้งเด็กๆ ต้องการการเรียนรู้แบบตอกย้ำซ้ำทวน ต้องฝึกฝนทำบ่อยๆ นี่คือทักษะ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นทักษะการเรียนรู้ที่ต้องทำซ้ำๆ บ่อยๆ จริงอยู่ที่เราต่างหวังผลที่คำตอบ แต่อันที่จริงแล้วสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่กระบวนการคิดที่ได้มาของคำตอบต่างหาก ที่สะท้อนว่าเด็กๆ มีวิธีคิดอย่างไร
       จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ นั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมุ่งที่คำตอบของคำถามเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจว่าคณิตศาสตร์คือทักษะที่ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย ไม่ใช่ว่าฝึกครั้งสองครั้งพอลูกทำไม่ได้ก็โมโหโกรธาลูกเสียยกใหญ่ เพราะฉะนั้นการจะให้ลูกตอบได้ในครั้งเดียวนั้นถือเป็นการคาดหวังที่มาก มาก และมากจนเกินไป


เข้าใจ Mathematical Skill เด็กวัยอนุบาล
    - เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์
    - เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก    - ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม
วิธีเสริมการเรียนเลข ความรู้คณิตศาสตร์ให้ลูกอนุบาล
  - กลยุทธ์ 1 เรียนรู้จำนวนจากสิ่งของ
  - กลยุทธ์ 2 สังเกตสร้างทักษะ สิ่งของรอบตัวเด็กๆ สามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องของคณิตศาสตร์ได้
  - กลยุทธ์ 3 เรียงภาพสร้างสรรค์ พื้นฐานของวัยนี้จะสามารถเรียงสิ่งของได้ 3 ชุด
  - กลยุทธ์ 4 สั้น-ยาว หนูรู้ได้ การวัดความสั้น-ยาวของสิ่งของนั้น 




      

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม  2557

ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธที่ 7 มกราคม 2558

เนื้อหา

          การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งแยกออก 3 ส่วน ดังต่อไปนี้

* การจัดประสบการณ์ เช่น
- เรียนรู้ผ่านการเล่น
- ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
- จัดกิจกรรมให้เด็กทำในห้องเรียน โดยการทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นกลุ่มบ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้มีการปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อนได้

* คณิตศาสตร์  เช่น
- รูปทรง เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลียม วงกลม วงรี ทรงกระบอก ทรงกรวย เป็นต้น
- เส้น เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก เป็นต้น
- ค่าของจำนวน เช่น 1-10
- การบวก ลบ คูณ หาร
  * บวก คือ การทำให้เพิ่มขึ้น
  * ลบ  คือ การทำให้ลดลง
  * คูณ คือ การเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
  * หาร คือ การลดลงอย่างสม่ำเสมอ
- ความหมายของคณิตศาสตร์
- ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- แนวคิด คือ แนวคิดของนักการศึกษา เช่น แนวคิดเกี่ยวกับสติปัญญา ของเพียเจท์
- ทฤษฎี คือ เป็นที่ยอมรับและเผยแพร่กันทั่วโลก ซึ่งนำมาเป็นแนวทางในการสอนของครู
- หลักการคิด
- ประสบการณ์
- การจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์

* เด็กปฐมวัย
แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
- พัฒนาการ
  * ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  * ความต้องการ

- วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
   * เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ
     ตา - ดู
     หู - ฟัง
     จมูก - ดมกลิ่น
     ลิ้น - ชิมรส
     กาย - สัมผัส
   
   * ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขิ้น


พัฒนาการ คือ
         การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ที่สะท้อนความสามารถของเด็กว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุ



วิธีการสอน
     - ใช้การระดมความคิด
     - เทคนิคการใช้คำถาม เช่น นึกถึงอะไร..ให้ตอบ เป็นคำถามปลายเปิด ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นและกล้าในการตอบมากยิ่งขึ้น
     - ใช้โปรแกรม Mind Map (สรุปความคิดเห็นให้เป็นหมวดหมู่)



ทักษะ

     - ทักษะการคิดวิเคราะห์
     - ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้

     - นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เป็นแนวทางที่ดีในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้



บรรยากาศในการเรียน
     
- มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย มีวัสดุอุปกรณ์ที่พร้อม



ประเมินตนเอง
     - ตั้งใจเรียน และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น



ประเมินเพื่อน

     - เพื่อนๆตั้งใจฟัง และช่วยกันตอบคำถาม มีการแบ่งปันความรู้อยู่ตลอดเวลา



ประเมินอาจารย์ผู้สอน

     - มีน้ำเสียงสูงต่ำ ตามจังหวะ เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษากระตือรือล้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น ใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาเเสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา อาจารย์มีบุคลิกภาพที่ดี มีการแต่งกายเรียบร้อย